บรูไนดารุสซาลาม - ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
บรูไนถือเป็นประเทศร่ำรวย เพราะมีทรัพยากรน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติมากมายในประเทศ ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ อันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย และมาเลซีย และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ LNG อันดับสี่ของโลก ทำให้รายได้หลักของประเทศ 90% มาจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันแล้ว บรูไนยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆอีก เช่น อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ที่มีมาตรฐาน ด้านวัตถุดิบและการปรุงถูกต้อง ตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม
ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า ปริมาณน้ำมันสำรองของบรูไนอาจหมดลงในราวปี พ.ศ.2558 ทางรัฐบาลจึงได้ส่งเสริม ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้นกับต่างประเทศ
สินค้านำเข้าที่สำคัญ | : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร |
สินค้าส่งออกที่สำคัญ | : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ |
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ | : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย |
ตลาดส่งออกที่สำคัญ | : อาเซียน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา |
สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน
สกุลเงิน |
: ดอลลาร์บรูไน ตัวย่อ BND |
อัตราแลกเปลี่ยน |
: 1 ดอลลาร์บรูไน = 22.77 บาท |
(ข้อมูล กรกฎาคม ปี 2563) |
: 1.38 ดอลลาร์บรูไน = 1 ดอลลาร์สหรัฐ์ |
จุดอ่อน/จุดแข็ง ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
จุดแข็ง | : ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน และ อันดับ 26 ของโลก |
: การเมืองค่อนข้างมั่นคง | |
: เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ของอาเซียน | |
จุดอ่อน | : ตลาดภายในค่อนข้างเล็ก เนื่องจากมีประชากรแค่สี่แสนกว่าคนเท่านั้น |
: ขาดแคลนแรงงาน |
บรูไนดารุสซาลาม |