ลาว - ภูมิศาสตร์/ภูมิอากาศ
สภาพทางภูมิศาสตร์ : ลาว
มีพื้นที่ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 50% ของพื้นที่ประเทศไทย) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีแนวชายแดนล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ไทย กัมพูชา และพม่า
ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (505 กิโลเมตร) |
ทิศใต้ ติดกับกัมพูชา (435 กิโลเมตร) |
ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (2,069 กิโลเมตร) |
ทิศตะวันตก ติดกับไทย (1,810 กิโลเมตร) |
ทิศตะวันตกเฉียงหนือ ติดกับพม่า (236 กิโลเมตร) |
ความยาวพื้นที่ประเทศลาว ตั้งแต่เหนือจรด ใต้ยาวประมาณ 1,700 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
1. เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
2. เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
3. เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าว อู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขต ซึ่งอยู่ ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียงและที่ราบจำปาสัก ทางภาคใต้ของลาว ซึ่ง ปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ (พื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูง) รวมแล้วร้อยละ 90 เป็นภูเขาและที่ราบสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ภูเบี้ย อยู่ในแขวงเชียงขวาง มีความสูง 2,820 เมตร ลาวมีพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 21.1% ของพื้นที่ทั้งหมด
สภาพภูมิอากาศ : ลาว
ลาวมีสภาพภูมิอากาศแบบเขตร้อน มีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน สภาพอากาศคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
ถึงแม้ลาวจะอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุม แต่ก็ไม่มีลมพายุ สำหรับ เขตภูเขาภาคเหนือและเขตเทือกเขา อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาวอุณหภูมิ สะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 15-30 องศาเซลเซียส และความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10 องศาเซลเซียส จำนวน ชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300 - 2,400 ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน) ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85
ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ 75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเมษายน) ปริมาณน้ำฝนมีเพียง ร้อยละ 10 - 25 และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่ละเขตก็แตกต่างกันอย่าง มากมาย เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300 เซนติเมตร
อุณหภูมิเฉลี่ยที่นครหลวงเวียงจันทน์ 25 องศาเซลเซียส (ม.ค.) และ 36-37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 171.5 เซนติเมตรต่อปี ขณะที่บริเวณแขวงเชียงขวาง แขวงหลวงพระบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150 เซนติเมตร ส่วนแขวงสะหวันนะเขตในช่วงนี้ได้รับปริมาณน้ำฝน 150 - 200 เซนติเมตร เช่นเดียวกับแขวงพงสาลี แขวง หลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
ลาว |