header-photo

asean-info.com

 

  อินโดนีเซีย - การเมืองและการปกครอง  

อินโดนีเซียปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยมีพื้นที่บางส่วนที่มีลักษณะปกครองตนเอง (Provincial Autonomy)

โครงสร้างการเมืองการปกครองของอินโดนีเซียประกอบด้วย 7 องค์กร ได้แก่

1) สภาที่ปรึกษาประชาชน (People’s Consultative Assembly : MPR) ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (People’s Representative Council : DPR) จำนวน 550 คน และสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representative Council : DPD) จำนวน 128 คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง สภาที่ปรึกษาประชาชน มีหน้าที่สำคัญ 3 ประการคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่งตั้ง ประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดีและถอดถอนประธานาธิบดี

2) สภาผู้แทนราษฎร (House of People’s Representatives : DPR) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 550 คน มาจากการเลือกตั้ง มีหน้า้ที่หลัก ในการออกกฎหมาย อนุมัติงบประมาณ และกำกับดูแลการทำงานของรัฐบาล มีวาระการทำงาน 5 ปี อย่างไรก็ตาม การพิจารณาร่างกฎหมายแต่ละฉบับ ต้องมีการหารือและได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่าง DPR กับประธานาธิบดี ร่างกฎหมายใดที่ไม่ได้รับความเห็นชอบร่วมจากประธานาธิบดี จะไม่สามารถ นำกลับมาพิจารณาใหม่ได้อีก ขณะเดียวกันร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบ ร่วมจากประธานาธิบดี และผ่านการลงคะแนนเสียงจาก DPR แล้ว แต่ ประธานาธิบดีไม่ลงนามด้วยเหตุใดก็ตาม ภายใน 30 วันให้ถือว่ามีผลบังคับใช้ เป็นกฎหมายได้โดยสมบูรณ์ อนึ่ง DPR ไม่มี่อำนาจในการขอเปิด อภิปรายไม่ไ่ว้วางใจประธานาธิบดี หรือรองประธานาธิบดี การถอดถอนประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีต้อง ทำตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญคือ DPR ต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของ ผู้ร่วมประชุม (มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิก DPR ทั้งหมด) เสนอเรื่องการขอถอดถอนให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา และหากศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาเห็นชอบตามที่เสนอ DPR จึงสามารถเสนอให้ MPR พิจารณาต่อไป (อำนาจสุดท้ายในการถอดถอนประธานาธิบดี/รองประธานาธิบดีอยู่ที่ MPR)

 

3) สภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council : DPD) เป็นสถาบันใหม่ที่มีการเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2547 เพื่อทดแทนผู้แทนจากภูมิภาคและองค์กรสังคม/กลุ่มอาชีพที่เคยมีอยู่เดิม (ที่มาจากการแต่งตั้ง) ทั้งนี้ สมาชิก DPD มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 128 คน มีหน้า้ที่เสนอแนะร่างกฎหมาย รวมถึงตรวจสอบการใช้จ่า่ย งบประมาณของประเทศ

4) สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional People’s House of Representatives : DPRD) ตามบทบัญญัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2543 กำหนดให้แบ่งระดับการปกครองภูมิภาคออกเป็นจังหวัด อำเภอ (Regency) และตำบล/เทศบาล (Kota) โดยจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก DPRD ในทุกระดับ (พร้อมกับการเลือกตั้ง DPR และ DPD)

5) ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามรัฐธรรมนูญระบุ ให้ประธานาธิบดีเป็น หัวหน้ารัฐบาลและเป็น ผู้บัญชาการกองทัพ โดยประธานาธิบดี อยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 สมัย (สมัยละ 5 ปี) สำหรับประธานาธิบดี คนปัจจุบัน คือ นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน

6) ศาลยุติธรรม รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจตุลาการอยู่ภายใต้ การดูแลของศาลฎีกา และศาลระดับรองๆ ลงมา รวมถึงศาลรัฐธรรมนูญใน การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา คณะกรรมาธิการตุลาการ (Judicial Commission) เป็นผู้เ้สนอชื่อให้ DPR รับรอง จากนั้นจึงเสนอต่อ ให้ประธานาธิบดีเป็น ผู้แต่งตั้งสมาชิกคณะกรรมาธิการตุลาการแต่งตั้งและถอดถอนโดยประธานาธิบดี ด้วยความเห็นชอบของ DPR

7) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสูงสุด (Supreme Audit Board : BPK) มีหน้าที่รายงานการใช้งบประมาณต่อ DPR, DPD และ DPRD สมาชิก BPK คัดเลือกโดย DPR โดยรับฟังความคิดเห็นของ DRD และ แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

เขตการปกครอง
เขตการปกครอง 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศอินโดนีเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 33 จังหวัด โดยเป็นเขตปกครองพิเศษ 5 จังหวัด คือ จาการ์ตา อาเจะห์ ยอกยาการ์ตา ปาปัว และ ปาปัวตะวันตก ซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวงหรือเมืองหลักอยู่ด้วย

 

 

 

ผู้นำประเทศอินโดนีเซีย

ดร. ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
โจโก วีโดโด

     ผู้นำประเทศ : ประธานาธิปดี โจโก วีโดโด (ประธานาธิปดีคนที่ 7 และคนปัจจุบัน)

indonesia flag     อินโดนีเซีย     indonesia flag