header-photo
 

ข่าวสารอาเซียน (ASEAN News)

 

"ประเพณี"ปอยส่างลอง"ตระการตาบรรพชาสามเณรแห่งเมืองพุทธ
 

2 กรกฏาคม 2556 : เดลี่ เมล์"ได้รายงานตีแผ่เทศกาล"ประเพณีปอยส่างลอง"หรืองานบวชลูกแก้ว ซึ่งถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเฌรในศาสนาพุทธ ด้วยปฎิกิริยาตื่นตา โดยมีการบันทึกภาพเด็กชายแห่งรัฐฉานในพื้นที่ทางตอนเหนือของไทย และพม่าหลายคนแต่งกายเป็นสามเณรตามรูปแบบประเพณีดังกล่าวอย่างเปี่ยมด้วยสีสันแปลกตา

เรื่องราวดังกล่าวถ่ายทอดโดยนักข่าวชื่อนายเคนเน็ธ แบมเบิร์ก"ในภาพชุดชื่อว่า"ดอกไม้"ซึ่งแสดงภาพเด็กชายแห่งรัฐฉาน แต่งกายในประเพณี"ปอยส่างลอง"อย่างเต็มไปด้วยสีสันสดใส รวมทั้งการแต่งหน้า การประดับประดาด้วยอัญมณีจำลอง ดอกไม้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพู ระบุว่า ประเพณี"ปอยส่างลอง"หรืองานบวชลูกแก้ว จะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน โดยเด็กที่มีอายุระหว่าง 7-14 ปี จะร่วมพิธีนี้ซึ่งมีรูปแบบพิเศษ ด้วยการนั่งบนบ่าญาติผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า โดยในวันที่ 3 พวกเขาจะรับการบรรพชาบวชเณร และใช้ชีวิตสามเณรเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์

โดยตามประเพณีนี้ ถือว่าตรงข้ามกับพิธีกรรมการเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ของวัฒนธรรมอื่น ๆ ซึ่งจะมีทั้งการเผชิญพิธีกรรมที่อันตราย,ความเจ็บปวด หรือการถูกแยกโดดเดี่ยว โดยเด็กที่เข้าพิธีนี้จะถือดอกกุหลาบ ใส่เสื้อขาว ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หมายถึงการเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่ โดยนายแบมเบิร์กระบุว่า พิธีกรรมนี้ได้มุ่งเน้นให้เห็นถึงคุณค่าของความเป็นสุนทรียศาสตร์ หรือความงดงามเมื่อได้ยลชม และถือเป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่ามากต่อการจดจำไว้ในความทรงจำ

ทั้งนี้ สำหรับความหมายของประเพณี"ปอยส่างลอง"หรือ งานบวชลูกแก้ว เป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในศาสนาพุทธซึ่งปกติจะมีการจัดงานอยู่ประมาณ 3-8 วัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาวนานเป็น 5-7 วัน ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงใกล้หน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆ

โดยประเพณีปอยส่างลองนี้เป็นประเพณีของคนไทยซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวไทใหญ่ ดังนั้นจึงจะพบเห็นประเพณีนี้กันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และในบางส่วนของภาคเหนือในการบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ก็เพื่อให้เด็กๆ ศึกษาพระพุทธธรรม และเพื่อเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา

ก่อนที่จะถึงวันประเพณีปอยส่างลองหนึ่งวัน เด็กผู้ชายทุกคนที่เข้าร่วมประเพณีจะต้องปลงผม และอาบน้ำใหสะอาดที่สุด และเจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยชุดเสื้อผ้าเครื่องประดับต่างๆ อย่างอลังการ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใส่เครื่องประดับที่เป็นของจริง โดยมากจะเป็นเพช พลอย และทองที่ทำขึ้นมาให้เหมือนจริงเท่านั้น ทั้งนี้ก็กลัวของมีค่าสูญหายในระหว่างการแห่ส่างลอง แต่ก็มีบางคนที่มีฐานะที่ให้ลูกหลานใส่ของจริง นอกจากนี้ก็ยังมีการแต่งหน้าแต่งตาด้วยสีสันที่จัดจ้านให้ส่างลอง(ลูกแก้ว)ดูสวยงามมีสง่าราศีเหนือคนทั่วไป

 

วันแรก ของปอยส่างลอง หรือชาวบ้านจะเรียกกันว่า"วันเอาส่างลอง"จะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้ว แห่ไปรอบเมืองตามถนน ขบวนแห่จะประกอบไปด้วยเสียงดนตรีอันแสดงถึงความสนุกสนานจากเสียงดนตรีของไทใหญ่ได้แก่ มองเซิง...ในอดีตนั้นการแห่ก็จะให้ลูกแก้วขี่ม้าแห่ แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไป เพราะม้าสมัยนั้นหากันง่าย ในสมัยปัจจุบันเลยเอาลูกแก้วนั่งเก้าอี้แล้วใส่หลังรถยนต์แห่ไปรอบเมืองแทนม้า

วันที่สอง หรือ"วันรับแขก"ก็จะมีขบวนแห่คล้ายๆ กับวันแรก แต่วันที่สองนี้ขบวนแห่ก็จะประกอบไปด้วย เตรื่องสักการะธูปเทียนต่างๆ เพื่อถวายพระพุทธ และเครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์.ในช่วงเย็นหลังจากที่ลูกแก้วรับประทานอาหารเสร็จ ก็จะมีพิธีทำขวัญ และการสวดทำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้วซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น

วันสุดท้ายคือ"วันบวช"พิธีของวันนี้จะเริ่มด้วยการนำลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัดลูกแก้วทั้งหมดก็จะกล่าวขออนุญาตเพื่อทำการบรรพชาจากพระผู้ใหญ่ เมื่อพระผู้ใหญ่อนุญาติแล้ว ลูกแก้วทั้งหมดก็จะพร้อมกันกล่าวคำปฏิญาณตน และอาราธนาศีลเสร็จ ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดเสื้อผ้าส่างลองที่สวยงามมุดเข้าผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง และก็เป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์

แหล่งข้อมูล ภาพและข่าว : มติชน

 

กลับหน้าหลัก ข่าวสารอาเซียน