header-photo
 

ข่าวสารอาเซียน (ASEAN News)

 

นักวิจัยเทียบประท้วงไทย-ยูเครน ชี้สื่อนอกเข้าข้างฝ่ายให้ประโยชน์

ASEAN News

4 ธันวาคม 2556 : สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างบทความ“A tale of 2 protests: Ukraine,Thailand” ของนายโทนี คาตาลัคซีนักเขียนและนักวิจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร

บทความใช้มุมมองของสื่อตะวันตกในการนำเสนอข่าวมาเปรียบเทียบสถานการณ์การประท้วงใน2 ประเทศและรายงานจุดยืนของสื่อประเทศตะวันตกทั้งหลายนายโทนีมองว่า การประท้วงของ2 ประเทศ ใน2 ทวีปนั้นผู้ชุมนุมมีการกระทำคล้ายกันคือพยายามปิดล้อมสถานที่ราชการและขับไล่รัฐบาลของตนขณะที่ประเทศตะวันตกเองกล่าสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและกล่าวต่อต้านอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีจุดยืนที่ชัดเจนคือตั้งมั่นอยู่บนผลประโยชน์ของตนไม่ใช่หลักนิติรัฐหรือประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น

 

สื่อตะวันตกสนับสนุนผู้ประท้วงในยูเครนเขียนข่าวเหมือนต้องการมอบราวัล“โนเบล”ให้

นายโทนีอ้างการนำเสนอข่าวของสื่อยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง“ซีเอ็นเอ็น” “เดอะ การ์เดียน”“ยูเค อินดีเพนเดนท์”และ“บีบีซี” ว่ามีอคติเข้าข้างฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงที่ยูเครนที่ต่อต้านรัฐบาลซึ่งไม่ยอมลงนามเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู)ทั้งนี้ นายโทนี มองว่าสื่อตะวันตกย่อมมีจุดยืนเข้าข้างอียูและมักใช้สำนวนว่า“ตำรวจยูเครนใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความโหดร้าย”หรือมักเน้นว่า“ผู้ประท้วงออกมารวมตัวชุมนุมอย่างสงบ”ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในยุโรปดังนั้นฝ่ายผู้ประท้วงที่เข้าข้างอียูจึงได้ใจสื่อยักษ์ใหญ่ไปตามๆกัน

สื่อตะวันตกไม่ชอบ“ผู้ประท้วงไทย”

*การนำเสนอข่าวมักพุ่งตรงไปที่ความรุนแรงซึ่งฝ่ายประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นผู้ลงมือโดยกล่าวว่าการประท้วงเต็มไปด้วยความรุนแรงและมีฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลเสียชีวิต3 ราย ทั้งนี้สหรัฐเองก็ออกมาประณามการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการของผู้ประท้วงว่าเป็นการใช้ความรุนแรงและเป็นเรื่องที่รับไม่ได้รวมทั้งไม่ช่วยแก้ปัญหาความแตกแยกทางการเมือง

นอกจากนี้ขณะที่สื่อตะวันตกแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่ตำรวจปราบจลาจลใช้กำลังเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่ยูเครนแต่กลับเข้าข้างตำรวจไทยที่ใช้วิธีเดียวกันเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมไทย *ทำไมสื่อตะวันตกและประเทศตะวันตกเข้าข้างรัฐบาลไทย?

รัฐบาลทั้งสมัยของพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรและนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตรได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันตกมาเกือบทศวรรษแล้วหรือตั้งแต่ก่อนทักษิณขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศในปี2544

ทักษิณเป็นนักธุรกิจที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกลับกลุ่มธุรกิจจากสหรัฐและอังกฤษขณะที่ตนก็พยายามขยับขยายสถานะด้วยการขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งนี้ เมื่อช่วงกลางปี2541กลุ่มธุรกิจ“คาร์ไลล์กรุ๊ป”เคยตั้งให้เขาเป็นที่ปรึกษาและเขายังเคยพยายามใช้สายสัมพันธ์กับอเมริกาส่งเสริมภาพลักษณ์ทางการเมืองในช่วงที่เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยเขาเชิญอดีตประธานาธิบดีจอร์จดับเบิ้ลยู บุช ผู้พ่อมาเยือนกรุงเทพฯเพื่อประกาศตนเป็นผู้ประสานงานระหว่างกองทุนจากสหรัฐฯกับธุรกิจไทยจากนั้นเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศก็เริ่มตอบแทนผลประโยชน์ให้กับตะวันตกตลอดมาแม้หลังโดนรัฐประหารโค่นล้มอำนาจแล้วแต่เขาก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบของสื่อตกในฐานะนักธุรกิจชั้นนำของเอเชีย

สื่อตะวันตกและประเทศตะวันตกต่างมีจุดยืนที่มักตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของตนแม้การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อปราบปรามผู้ชุมนุมในทั้ง2ประเทศจะเหมือนกันหรือแม้แต่การกระทำของผู้ชุมนุมเองก็เหมือนกันแต่ตะวันตกกลับให้การสนับสนุนกันคนละฝ่าย

แหล่งข้อมูล ภาพและข่าว : เดลินิวส์ .    

กลับหน้าหลัก ข่าวสารอาเซียน