header-photo

asean-info.com

 

  มาเลเซีย - การเมืองและการปกครอง  

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ระบบรัฐบาลของมาเลเซียมีทั้งรัฐบาลกลางหรือสหพันธ์ (Federal Government) และรัฐบาลแห่งรัฐ (State Government) แต่ละรัฐมีสุลต่านปกครอง

 

และสุลต่านร่วมกันเลือกสมเด็จพระราชาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์ตวน อากง (Yang di-pertuan Agong) เป็นกษัตริย์ปกครองประเทศโดยมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างสุลต่านทั้ง 9 รัฐ เพื่อเป็นประมุของค์ละ 5 ปี (รัฐที่มีสุลต่านเป็นประมุข จำนวน 9 รัฐ ได้แก่ เปรัค ปาหัง สลังงอร์ เปอร์ลิส เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน และตรังกานู รัฐที่มีผู้ว่าการรัฐเป็นประมุข จำนวน 4 รัฐ ได้แก่ ปีนัง มะละกา ซาราวัค และซาบาห์)

สมเด็จพระราชาธิปดีองค์ที่ 14
สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านอับดุลละฮ์ รีอายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์

การปกครองเป็นแบบรัฐสภา (Parliament System) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) ที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภา (Senate) ที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้ง อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่ กับสภาผู้แทนราษฎรโครงสร้างการปกครองของมาเลเซียแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่

1. ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภาคือ วุฒิสภา หรือสภาสูง (Senate หรือ Dewan Negara) จำนวน 70 ที่นั่ง มาจาก 2 ส่วนคือ ส่วนแรก มาจากการแต่งตั้ง โดยนายกรัฐมนตรี จำนวน 44 ที่นั่ง และส่วนที่สอง อีก 26 ที่นั่ง มาจาก การเลือกโดยสภานิติบัญญัติของทั้ง 13 รัฐ (State Legislatures) จำนวน รัฐละ 2 คน มีวาระ 6 ปี สำหรับสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative หรือ Dewan Rakyat) มาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 คน รวม 219 คน มีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายที่รัฐบาลหรือวุฒิสภาเป็น ผู้เสนอ ระยะเวลาการ ดำรงตำแหน่ง 5 ปี

2. ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

 

- นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหารตาม ระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ที่สมาชิกได้รับเลือกเข้า มาในสภามากสุด หรืออาจเป็นหัวหน้าพรรคที่เป็นแกนนำ ในสภาผู้แทนราษฎร โดยประมุขของประเทศจะเป็นผู้แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือ นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก

- คณะรัฐมนตรี (Cabinet) เป็นกลุ่มผู้กำหนดนโยบายอันมีนายก รัฐมนตรีเป็นหัวหน้า นายกรัฐมนตรีจะเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามา ดำรงตำแหน่งในกระทรวงต่างๆ

3. ฝ่ายตุลาการ อำนาจตุลาการใช้ระบบกฎหมายของอังกฤษคือ Common Law ยกเว้นศาสนาอิสลามอยู่ภายใต้ระบบสหพันธ์ ทำให้อำนาจตุลาการมีความอิสระมาก เพราะไม่ถูกควบคุมโดยฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ

มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้ปกครองรัฐของตนเอง และมี 3 เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ

 

ผู้นำประเทศมาเลเซียmalaysia flag

นาจิบ บิน ตุน อับดุล ราซัก
อันวาร์ อิบราฮิม

     ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านอับดุลละฮ์ รีอายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลละฮ์ ชะฮ์ ซึ่งเป็นสุลต่านจากรัฐปะหัง (สืบต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่านมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน )

     ผู้นำรัฐบาล : อันวาร์ อิบราฮิม (นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ต่อจาก อิสมาเอล ซาบรี ยาคอบ)

malaysia flag     มาเลเซีย     malaysia flag