header-photo

asean-info.com

 

ประชาคมเศรษฐกิจ (AEC) - วัตถุประสงค์

มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งประชาคมเพื่อให้เกิดการรวมตัวและร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อเอื้อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม มุ่งให้เกิดการพัฒนาและสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่นในเวทีเศรษฐกิจโลกได้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ถือเป็นประชาคมที่ทุกคนต่างให้ความสำคัญมากที่สุด ถึงแม้การรวมกันก่อตั้งประชามคมอาเซียน (AC) จะมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา และร่วมมือกันทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ประชาคม เศรษฐกิจนี้เองที่จะเป็นประชาคมหลักที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย แก่ประเทศสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะตลาดอาเซียนที่มีผู้บริโภคถึง 600 ล้านคน จะก่อให้เกิดภาวะตลาดเดียว การลงทุนที่เดียวสามารถบริการลูกค้าได้ทั้งหมด ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน เคลื่อนย้ายทุน เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการภายในประเทศสมาชิกได้อย่างสะดวก

เป้าหมายหลักของการร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ระบุไว้ในหมวดที่หนึ่งของกฏบัตรอาเซียน คือเพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง มีความารถในการแข่งขันสูง และมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการ และการลงทุน การเคลื่อนย้ายที่ได้รับความสะดวกของนักธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความสามารถพิเศษและแรงงาน และการเคลื่อนย้ายอย่างเสรียิ่งขึ้นเงินทุน

 

ต่อมาบรรดาผู้นำอาเซียนได้ทำการลงนามในปฏิญญาเซบู ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ปี พ.ศ. 2550 ที่สิงคโปร์ ว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และตารางดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต่อมาเป็นแผนแม่บทที่ประเทศสมาชิกนำไป ปรับเพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีองค์ประกอบหลัก ที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ

1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base) อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฏระเบียบการค้าภายในประเทศสมาชิก เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ราคา อัตราภาษี อันจะเอื้อต่อการขจัดมาตรการและข้อกีดกันต่างๆ โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝืมืออย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากขึ้น

2. การสร้างอาเซียนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Competitive Economic Region) ผ่านทางการร่วมมือต่างๆของประเทศสมาชิก ทั้งทางด้านการเปิดเสรีภาคบริการ สาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ (e-ASEAN) และนโยบายภาษี นโยบายการแข่งขันที่เป็นธรรม สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองผู้บริโภค และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

 

3. การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเสมอภาค (Equitable Economic Development) เพื่อให้อาเซียนก้าวเดินไปพร้อมกันมากที่สุด มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดช่องว่างการ พัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม (CLMV) ผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการแผนงานกรอบความริเริ่ม เพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Intefration : IAI) โดยโครงการนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ / ลดปัญหาความยากจน / ยกระดับความ เป็นอยู่ของประชากร และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีแผนงาน 6 ปี (ปี 2545 - 2551) และมีกลไกลในการจับคู่ระหว่างสมาชิกเก่า 6 ประเทศเก่า กับ สมาชิกใหม่ ในแต่ละสาขาความร่วมมือ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร ความยากจน การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกเก่าที่ความชำนาญในสาขานั้นๆ ถ่ายทอดและช่วยพัฒนา ประเทศสมาชิกใหม่ตามกรอบเวลาที่กำหนด เพื่อความพร้อมในการรวมตัวกันเป็นประชาคม อาเซียนในอนาคต

4. บูรณาการเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลก (Integration into Global Economy) โดยการปรับและประสานนโยบายเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการผลิต และจำหน่าย รวมถึงการตกลงทำเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับประเทศนอกอาเซียน