header-photo

asean-info.com

 

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) - เนื้อหา/โครงสร้าง

กฏบัตรอาเซียน คือ ธรรมนูญหรือกฏหมายสูงสุดของอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิก ที่เห็นชอบ ในการกำหนดกรอบโครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการและกลไกที่สำคัญต่างๆในอาเซียน โดยมุ่งให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฏกติกาในการ ทำงานมากขึ้น ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฏบัตรอาเซียนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 และมี ผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551

กฏบัตรอาเซียนประกอบด้วย อารัมภบท และข้อบังคบ 55 ข้อ ใน 13 หมวด

หมวดที่ 1 วัตถุประสงค์และหลักการ - กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ

หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมาย - ระบุฐานะทางกฏหมาย

 

หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ - อธิบายสมาชิก การรับสมาชิกใหม่

หมวดที่ 4 องค์กร - กล่าวถึงองค์กรและการทำงาน ประกอบด้วย ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประสานงาน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่างๆ องค์กรรัฐมนตรีเฉพาะสาขา คณะกรรมการถาวรประจำอาเซียน เลขาธิการและสำนักเลขาธิการ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน

หมวดที่ 5 องค์ภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน - มีรายชื่อตามภาคผนวก 2

หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ - เอกสิทธิ์ทางการทูตของอาเซียน

หมวดที่ 7 การตัดสินใจ - กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินที่อยู่บนหลักการปรึกษาหารือ และฉันทามติ

หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท - กล่าวถึงวิธีระงับข้อพิพาทและคนกลาง โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นช่องทางสุดท้าย

หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณของสำนักเลขาธิการ

หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน กล่าวถึงประธานอาเซียน พิธีการทางการทูต ภาษาทำงาน

หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์- กล่าวถึงคำขวัญ ธง ดวงตรา วันและเพลงอาเซียน

หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก - กล่าวถึงแนวทางและขั้นตอนการเจรจาของอาเซียน กับคู่เจรจา

หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย - กล่าวถึงการบังคับใช้

 

ภาคผนวก 1 - กล่าวถึงองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา

ภาคผนวก 2 - กล่าวถึงองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม

ภาคผนวก 3 - อธิบายรายละเอียดธงอาเซียน

ภาคผนวก 4 - อธิบายรายละเอียดดวงตราอาเซียน